มาดูอาการหูไม่ได้ยินและวิธีการรักษา

หูไม่ได้ยิน

อาการหูไม่ได้ยินนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาของผู้ป่วยเองและส่งผลถึงคนรอบข้างด้วย เพราะการที่เรามีความสามารถในการรับเสียงลดลง หูไม่ได้ยิน หูอื้อ หูตึง ทำให้ในบางครั้งคนรอบข้างผู้ป่วยอาจมีปัญหาได้จากการที่ต้องตะโกนสื่อสารกันเป็นเวลานาน เช่น เสียงแหบ เป็นต้น

กลไกการรับเสียง

  1. ส่วนนำเสียงและขยายเสียง ได้แก่ หูชั้นนอกและหูชั้นกลาง คลื่นเสียงจากภายนอกผ่านเข้าไปในช่องหู จะไปกระทบแก้วหู มีการส่งต่อและขยายเสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป ถ้ามีความผิดปรกติเกิดขึ้น ทำให้เกิดภาวะหูตึงได้ สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของ หูชั้นนอก และหูชั้นกลาง
  2. ส่วนประสาทรับเสียง ได้แก่ ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่าง ๆ ความผิดปรกติบริเวณนี้ ส่วนใหญ่ทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวร และบางโรคทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของ หูชั้นใน สมองและสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคประจำตัวต่างๆ 

การวินิจฉัยอาการหูไม่ได้ยิน

ในเบื้องต้นการวินิจฉัยจะมาจากการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ที่ทำให้เกิดหูอื้อ, การตรวจหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหู, การตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การตรวจการได้ยิน เพื่อยืนยัน และประเมินระดับความรุนแรงของการเสียการได้ยิน

การรักษาหูอื้อ

การรักษาหูไม่ได้ยินเพราะหูอื้อจะรักษาตามสาเหตุ  ซึ่งแบ่งเป็นการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด อย่างไรก็ตามหูอื้อที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน, เส้นประสาทหู, และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทหูเสื่อม มักจะรักษาไม่หายขาด ยกเว้นสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่รักษาได้ นอกจากนั้นถ้าเกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้หูเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมนั้นด้วย ส่วนประสาทหูเสื่อมบางรายไม่ทราบสาเหตุ หรือทราบสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่รักษาไม่ได้ อาจหายเองก็ได้หรือจะเป็นอยู่ตลอดชีวิตก็ได้

ดังนั้นอาการหูไม่ได้ยิน หรือหูอื้ออาจมีสาเหตุจากประสาทหูเสื่อมตามอายุ ซึ่งจะไม่มีอันตรายร้ายแรง อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเลือกใช้เครื่องช่วยฟังก็จะช่วยแก้ปํญหานี้ได้ อยากได้เครื่องช่วยฟังคุณภาพดี มีให้เลือกเยอะ สามารถเข้าไปรึกาอาการหูไม่ได้ยินกับทาง Intimex ได้ เพราะมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะตรวจการได้ยินอย่างละเอียด พร้อมหาสาเหตุของอาการนั้นๆ และเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ชองคุณให้มากที่สุด